Sunday, September 25, 2011

ดอกไม้ประจำจังหวัด

ดอกทุ้งฟ้า
ดอกไม้ประจำจังหวัดกระบี่

17.jpg

ดอกไม้ประจำจังหวัด


กระบี่

ชื่อดอกไม้


ดอกทุ้งฟ้า

ชื่อสามัญ

ชื่อวิทยาศาสตร์


Alstonia macrophylla Wall.

วงศ์


APOCYNACEAE

ชื่ออื่น


ทุ้งฟ้าไก่, ตีนเทียน, พวมพร้าว

ลักษณะทั่วไป


เป็นไม้ยืนต้น สูง 15-25 เมตร ไม่ผลัดใบ ลำต้นเปลาตรง เปลือกสีขาวอมเทา มีน้ำยางสีขาว ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงรอบข้อ ข้อละ 3-4 ใบ แผ่นใบรูปหอกกลับ กว้าง 3-8 ซม. ยาว 10-30 ซม. ปลายเป็นติ่งแหลม ท้องใบมีคราบสีขาว หลังใบสีขาว ดอกออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง จำนวนมาก กลีบดอกสีขาวหรือขาวอมเหลืองเชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็น 5 กลีบ ออกดอกระหว่าง เดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม

การขยายพันธุ์


โดยการเพาะเมล็ด

สภาพที่เหมาะสม


เป็นไม้ที่ต้องการความชื้นมาก เจริญเติบโตได้ดีในดินที่ระบายน้ำได้ดี

ถิ่นกำเนิด


ป่าดงดิบ ภาคใต้

 

ดอกกาญจนิกา
ดอกไม้ประจำจังหวัดกาญจนบุรี

fl_04

ดอกไม้ประจำจังหวัด


กาญจนบุรี

ชื่อดอกไม้


ดอกกาญจนิกา

ชื่อสามัญ


Night Flower Jasmin

ชื่อวิทยาศาสตร์


Nyctathes arbotristis

วงศ์ชื่ออื่นลักษณะทั่วไป


เป็นไม้พุ่มยืนต้นขนาดกลางสูงประมาณ 15 เมตร ใบเดี่ยวออกเป็นคู่ สลับกันไปตามข้อของต้น สีเขียวมีขนอ่อนๆ ออกดอกเป็นช่อ ตามส่วนยอดและโคนก้านใบ แต่ละช่อมีดอกประมาณ 5-8 ดอก ดอกสีขาวมี 6 กลีบ กลีบดอกจะบิดเวียนไปทางขวางคล้ายกังหัน ปลายกลีบเหมือนหางปลา วงในดอกเป็นสีแดงแสด หลอดดอกสีแง เกสรเป็นเส้นเล็กละเอียดซ้อนอยู่ในหลอดดอก มีกลิ่นหอม บานกลางคืน ออกดอกตลอดปี

การขยายพันธุ์


เพาะเมล็ด ตอนกิ่ง และปักชำ

สภาพที่เหมาะสม


ดินร่วนซุยระบายน้ำได้ดี ความชื้นปานกลาง แสงแดดจัด

ถิ่นกำเนิด


ประเทศอินเดีย

 

ดอกพะยอม
ดอกไม้ประจำจังหวัดกาฬสินธุ์, พัทลุง

ดอกพยอม

ดอกไม้ประจำจังหวัด


กาฬสินธุ์, พัทลุง

ชื่อดอกไม้


ดอกพะยอม

ชื่อสามัญ


Shorea white Meranti

ชื่อวิทยาศาสตร์


Shorea talura Roxb.

วงศ์


DIPTEROCARPACEAE

ชื่ออื่น


กะยอม (เชียงใหม่), ขะยอม (ลาว), ขะยอมดง พะยอมดง (ภาคเหนือ), แคน (ลาว), เชียง เซี่ยว (กะเหรี่ยง-เชียงใหม่), พะยอม (ภาคกลาง), พะยอมทอง (สุราษฎร์ธานี, ปราจีนบุรี), ยางหยวก (น่าน)

ลักษณะทั่วไป


พะยอมเป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูงประมาณ 15–20 เมตร ทรงพุ่มกลม ผิวเปลือกสีน้ำหรือเทา เนื้อไม้มีสีเหลืองแข็ง ลำต้นแตกเป็นร่องตามยาวมีสะเก็ดหนา ใบเป็นรูปมนรี ปลายใบแหลม โคนใบสอบมน ขอบใบเรียบ ด้านหลังใบมีเส้นใบชัด ดอกออกเป็นช่อ ใหญ่ส่วนยอดของต้น ดอกมีกลีบ 3 กลีบ โคนกลีบดอกติดกับก้านดอกมีลักษณะกลม กลีบดอกเรียบโค้งเล็กน้อย มีสีเหลืองอ่อน กลิ่นหอม

การขยายพันธุ์


การเพาะเมล็ด

สภาพที่เหมาะสม


สภาพดินทุกชนิด เป็นไม้กลางแจ้ง สามารถปรับเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดีมาก

ถิ่นกำเนิด


พบตามป่าผลัดใบ และป่าดิบ เป็นไม้พื้นเมืองของเอเชีย ไทย, พม่า, มาเลเซีย

 

ดอกพิกุล
ดอกไม้ประจำจังหวัดกำแพงเพชร, ยะลา, ลพบุรี

ดอกพิกุล

ดอกไม้ประจำจังหวัด


กำแพงเพชร, ยะลา, ลพบุรี

ชื่อดอกไม้


ดอกพิกุล

ชื่อสามัญ


Bullet Wood, Spanish Cherry

ชื่อวิทยาศาสตร์


Mimusops elengi Linn.

วงศ์


SAPOTACEAE

ชื่ออื่น


กุน (ภาคใต้), แก้ว (ภาคเหนือ), ซางดง (ลำปาง), พิกุลป่า (สตูล), พิกุลเขา พิกุลเถื่อน (นครศรีธรรมราช), พิกุล (ทั่วไป)

ลักษณะทั่วไป


พิกุลเป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดกลางสูงประมาณ 8–15 เมตร เป็นพุ่มทรงกลมใบออกเรียงสลับกันใบมนรูปไข่ปลายแหลม ลักษณะโคนใบมน สอบขอบใบโค้งเป็นคลื่นเล็กน้อย ใบเป็นมันสีเขียว ดอกเป็นดอกเดี่ยว ออกดอกเป็นกระจุกตามง่ามใบหรือยอด มีกลีบดอกประมาณ 8 กลีบ เรียงซ้อนกัน กลีบดอกเป็นจักรเล็กน้อย สีขาวนวลมีกลิ่นหอมมาก ผลรูปไข่หรือกลมรีผลแก่มีสีแสด เนื้อในเหลืองรสหวาน ภายในมีเมล็ดเดียว

การขยายพันธุ์


เพาะเมล็ด, ตอนกิ่ง

สภาพที่เหมาะสม


ดินทุกชนิด แสงแดดจัด

ถิ่นกำเนิด


อินเดีย, พม่า และมาเลเซีย

 

ดอกราชพฤกษ์
ดอกไม้ประจำจังหวัดขอนแก่น, นครศรีธรรมราช

fl_32

ดอกไม้ประจำจังหวัด


ขอนแก่น, นครศรีธรรมราช

ชื่อดอกไม้


ดอกราชพฤกษ์

ชื่อสามัญ


Golden Shower Tree, Purging Cassia

ชื่อวิทยาศาสตร์


Cassis fistula Linn.

วงศ์


LEGUMINOSAE

ชื่ออื่น


คูน(อีสาน), ลมแล้ง(ภาคเหนือ), ลักเกลือ ลักเคย(ปัตตานี), อ้อดิบ(ภาคใต้), กุเพยะ(กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี), ชัยพฤกษ์ ราชพฤกษ์(ภาคกลาง)

ลักษณะทั่วไป


ราชพฤกษ์เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางสูงประมาณ 12–15 เมตร ลำต้นสีขาวปนเทา ผิวเรียบมีรอยเส้นรอบต้น และ รอยปมอยู่บริเวณที่เกิดกิ่ง ใบเป็นใบประกอบมีใบย่อยเป็นคู่ออกจากก้านใบ ใบย่อยมีประมาณ 4–8 คู่ ใบรี รูปไข่ โคนใบมน ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบสีเขียว ออกดอกสีเหลือง เป็นช่อห้อยระย้าตามก้านใบ เวลาออกดอกใบจะร่วง

การขยายพันธุ์


เพาะเมล็ด

สภาพที่เหมาะสม


ดินร่วนซุย ดินร่วนปนทราย ดินร่วนเหนียว ต้องการน้ำน้อยทนแล้ง แสงแดดจัด

ถิ่นกำเนิด


เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตอนกลาง ทางใต้ของอเมริกา และออสเตรเลียตอนเหนือ

 

ดอกเหลืองจันทบูร
ดอกไม้ประจำจังหวัดจันทบุรี

เหลืองจันทบูร

ดอกไม้ประจำจังหวัด


จันทบุรี

ชื่อดอกไม้


ดอกเหลืองจันทบูร

ชื่อสามัญ

ชื่อวิทยาศาสตร์


Dendrodium friedericksianum Rchb. f.

วงศ์


ORCHIDACEAE

ชื่ออื่น


หวายเหลืองจันทบูร

ลักษณะทั่วไป


เป็นกล้วยไม้ที่มีลำลูกกล้วยลักษณะเป็นโคนเล็กแล้วค่อยโป่งไปทางตอนปลายขนาดลำยาวมาก บางต้นยาวถึง 75 เซนติเมตร เมื่อลำแก่จะเป็นสีเหลืองโดยด้านข้างของลำจะมีใบอยู่ทั้งสองข้าง ออกดอกในเดือนมกราคมถึงเดือนเมษายน ช่อดอกออกตามข้อของลำ ออกดอกเป็นช่อๆ ละ 2–4 ดอก กลีบดอกเป็นมัน รอบแรกดอกจะเป็นสีเหลืองอ่อนแล้วจะค่อยๆ เข้มขึ้นจนเป็นสีจำปา ปากสีเข้มกว่ากลีบ ในคอมีสีแต้มเป็นสีเลือดหมู 2 แต้ม ขนาดดอกโตประมาณ 5 เซนติเมตร

การขยายพันธุ์


แยกลำ

สภาพที่เหมาะสม


เป็นกล้วยไม้รากอากาศ ชอบอากาศชื้น

ถิ่นกำเนิด


ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างและภาคตะวันออก

 

ดอกนนทรี
ดอกไม้ประจำจังหวัดฉะเชิงเทรา, นนทบุรี, พิษณุโลก

นนทรี

ดอกไม้ประจำจังหวัด


ฉะเชิงเทรา, นนทบุรี, พิษณุโลก

ชื่อดอกไม้


ดอกนนทรี

ชื่อสามัญ


Yellow Flamboyant

ชื่อวิทยาศาสตร์


Peltophorum pterocarpum (DC.) K. Heyne

วงศ์


LEGUMINOSAE

ชื่ออื่น


กระถินป่า กระถินแดง (ตราด), นนทรี (ทั่วไป) สารเงิน (แม่ฮ่องสอน)

ลักษณะทั่วไป


เป็นไม้ยืนต้นทรงพุ่มสูงได้ถึง 25 เมตร กึ่งผลัดใบ เรือนยอดรูปร่ม แผ่กว้าง ใบเป็นใบประกอบขนนกสองชั้นรูปไข่ ออกดอกเป็นช่อตั้งขนาดใหญ่ที่ปลายกิ่ง สีเหลือง มีกลิ่นหอมอ่อนๆ ออกดอกในฤดูแล้ง ช่วง เดือนมีนาคม-มิถุนายน

การขยายพันธุ์


โดยการเพาะเมล็ด

สภาพที่เหมาะสม


ดินทั่วไป ชอบแสงแดดจัด

ถิ่นกำเนิด


เอเชียเขตร้อน

 

ดอกประดู่
ดอกไม้ประจำจังหวัดชลบุรี, ร้อยเอ็ด, ระยอง, อุตรดิตถ์

ประดู่

ดอกไม้ประจำจังหวัด


ชลบุรี, ร้อยเอ็ด, ระยอง, อุตรดิตถ์

ชื่อดอกไม้


ดอกประดู่

ชื่อสามัญ


Angsana, Padauk

ชื่อวิทยาศาสตร์


Pterocarpus indicus Willd

วงศ์


LEGUMINOSAE

ชื่ออื่น


สะโน (ภาคใต้)

ลักษณะทั่วไป


ลำต้นสูง 10–20 เมตร ผลัดใบ เรือนยอดกลมหรือรูปเจดีย์เตี้ย แผ่กว้าง หนาทึบ ใบประกอบขนนก รูปไข่ เรียบหนา ออกดอกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง มี 5 กลีบ สีเหลือง มีกลิ่นหอมอ่อนๆ ดอกบานแล้วร่วงพร้อมๆ กัน ออกดอกช่วงเดือน เมษายน-สิงหาคม

การขยายพันธุ์


โดยการเพาะเมล็ด

สภาพที่เหมาะสม


ดินทั่วไป ชอบแสงแดดจัด

ถิ่นกำเนิด


อินเดีย, พม่า, มาเลเซีย, ฟิลิปปินส์

 

ดอกชัยพฤกษ์
ดอกไม้ประจำจังหวัดชัยนาท

fl_12

ดอกไม้ประจำจังหวัด


ชัยนาท

ชื่อดอกไม้


ดอกชัยพฤกษ์

ชื่อสามัญ


Javanese Cassia, Rainbow Shower

ชื่อวิทยาศาสตร์


Cassia javanica L.

วงศ์


LEGUMINOSAE

ชื่ออื่น


ขี้เหล็กยะวา

ลักษณะทั่วไป


ลำต้นสูง 15–25 เมตร ผลัดใบ เรือนยอดรูปร่ม แผ่กว้าง ใบประกอบขนนก รูปไข่แกมรูปรี ใต้ใบมีขน ออกดอกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง มี 5 กลีบ สีชมพู โคนคอดเป็นก้านดอกจำนวนมากออกดอกช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงเมษายน

การขยายพันธุ์


โดยการเพาะเมล็ด

สภาพที่เหมาะสม


ดินทราย ชอบแสงแดดจัด

ถิ่นกำเนิด


อินโดนีเซีย และแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 

ดอกกระเจียว
ดอกไม้ประจำจังหวัดชัยภูมิ

81784CYP9061

ดอกไม้ประจำจังหวัด


ชัยภูมิ

ชื่อดอกไม้


ดอกกระเจียว

ชื่อสามัญ


Siam Tulip

ชื่อวิทยาศาสตร์


Curcuma

วงศ์


ZINGIBERACEAE

ชื่ออื่น


กาเตียว (ตะวันออกเฉียงเหนือ), จวด (ใต้), อาวแดง (เหนือ)

ลักษณะทั่วไป


กระเจียว เป็นพืชล้มลุกมีเหง้าอยู่ในดิน จะพักตัวในฤดูหนาวและร้อน เมื่อถึงฤดูฝนจึงจะเริ่มผลิใบและดอก ใบยาวคล้ายใบพาย ออกใบและดอกพร้อมกัน ต้นสูงประมาณ 2 ฟุต ดอกสีเหลืองในแดง กาบดอกสีม่วง ออกดอกพร้อมกัน

การขยายพันธุ์


แยกหน่อ

สภาพที่เหมาะสม


อากาศชื้นเย็น

ถิ่นกำเนิด


ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย ตามเขตชายแดนไทย-ลาว และตามเขตชายแดนไทย-เขมร

 

ดอกพุทธรักษา
ดอกไม้ประจำจังหวัดชุมพร

pantip

ดอกไม้ประจำจังหวัด


ชุมพร

ชื่อดอกไม้


ดอกพุทธรักษา

ชื่อสามัญ


Butsarana

ชื่อวิทยาศาสตร์


Canna indica Linn.

วงศ์


CANNACEAE

ชื่ออื่น

ลักษณะทั่วไป


พุทธรักษาเป็นพรรณไม้ล้มลุก เนื้ออ่อนอวบน้ำ ลำต้นสูงประมาณ 1–2 เมตร มีลำต้นอยู่ใต้ดินเรียกว่า เหง้า เจริญเติบโต โดยแตกหน่อเป็นกอคล้ายกล้วย ใบมีขนาดใหญ่สีเขียวโคนใบและปลายใบรีแหลม ขอบใบเรียบ กลางใบเป็นเส้นนูนเห็นชัด ใบมีก้านใบยาวเป็นกาบใบหุ้มลำต้นซ้อนสลับกัน ออกดอกเป็นช่อตรงส่วนยอดของลำต้น ช่อดอกยาวประมาณ 15–20 เซนติเมตร ประกอบด้วยดอก 8–10 ดอก และมีกลีบดอกบางนิ่ม ขนาดของดอกและสีสันแตกต่างกันไปตามชนิดพันธุ์

การขยายพันธุ์


การเพาะเมล็ด, แยกหน่อ

สภาพที่เหมาะสม


ดินร่วนซุย แสงแดดจัดกลางแจ้ง

ถิ่นกำเนิด

ประเทศอินเดีย

ดอกพวงแสด
ดอกไม้ประจำจังหวัดเชียงราย

CIMG7694

 

ดอกไม้ประจำจังหวัด


เชียงราย

ชื่อดอกไม้


ดอกพวงแสด

ชื่อสามัญ


Orange Trumpet, Flame Flower.

ชื่อวิทยาศาสตร์


Pyrostegia venusta., Miers.

วงศ์


BIGNONIACEAE

ชื่ออื่น

ลักษณะทั่วไป


พวงแสดเป็นพันธุ์ไม้เถาเลื้อยที่มีขนาดใหญ่ สามารถเลื้อยเกาะได้ไกลมากกว่า 40 ฟุต เถาอ่อนสีเขียว เมื่อแก่จะกลายเป็นสีน้ำตาล ใบเป็นใบประกอบ มี 3 ใบย่อย แต่จะมีบางใบที่เป็นคู่โดยใบย่อยที่สามที่อยู่ตรงกลางจะเปลี่ยนจากใบเป็นมือเกาะ ใบออกสลับกัน สีเขียวเข้ม ก้านใบสั้นเกือบชิดกิ่ง ใบรูปไข่ปลายใบแหลม โคนใบมน ขอบใบเรียบไม่มีจัก ออกดอกเป็นช่อตามซอกใบ และตามปลายกิ่งส่วนยอดดอกดกจนดูแน่นช่อ มีกลีบรองดอก เป็นรูปถ้วย หรือรูปกระดิ่งหงาย ดอกเป็นรูปทรงกรวย เรียวยาว ปลายดอกจะบานออกเป็น 4 กลีบ เมื่อดอกบานเต็มที่กลีบดอกจะงอโค้งลงข้างล่าง ดอกยาวประมาณ 5–6 เซนติเมตร ภายในดอกมีเกสรตัวผู้ 4 อัน สั้นยาวไม่เท่ากัน สั้น 2 อัน และยาว 2 อัน เกสรตัวเมีย 1 อัน อยู่ตรงกลาง สีตองอ่อน และยาวกว่าเกสรตัวผู้ พวงแสดออกดอกช่วง เดือนธันวาคม–มีนาคม ของทุกปี

การขยายพันธุ์


ปักชำกิ่ง, ตอนกิ่ง

สภาพที่เหมาะสม


ดินร่วน ไม่ต้องการน้ำมาก แสงแดดจัด

ถิ่นกำเนิด


ประเทศบราซิลและอาเจนตินา

 

ดอกทองกวาว
ดอกจานเหลือง
ดอกไม้ประจำจังหวัดเชียงใหม่, ลำพูน, อำนาจเจริญ, อุดรธานี

 

fl_15ดอกไม้ประจำจังหวัด


เชียงใหม่, ลำพูน, อำนาจเจริญ, อุดรธานี

ชื่อดอกไม้


ดอกทองกวาว

ชื่อสามัญ


Flame of the forest, Bastard Teak, Bengal kinotree, Kino tree

ชื่อวิทยาศาสตร์


Butea monosperma

วงศ์


LEGUMINOSAE

ชื่ออื่น


กวาว ก๋าว (ภาคเหนือ), จอมทอง (ภาคใต้), จ้า (เขมร), ทองธรรมชาติ ทองพรหมชาติ ทองต้น (ภาคกลาง), ดอกจาน (อิสาน)

ลักษณะทั่วไป


ทองกวาวเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่สูงประมาณ 10–15 เมตร ผลัดใบ เรือนยอดรูปทรงไม่แน่นอน ส่วนใหญ่จะกลม หรือเป็นทรงกระบอก ใบประกอบมี 3 ใบ ขนาดไม่เท่ากัน ใบหนาและมีขน ใต้ใบสีเขียวอมเทา ออกดอกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง คล้ายดอกถั่ว สีแสดแดงหรือเหลือง มีขน ออกดอก เดือนธันวาคม–มีนาคม ผลเป็นฝักแบน มีขนนุ่ม เมล็ด 1 เมล็ดอยู่ที่ปลายฝัก

การขยายพันธุ์


การเพาะเมล็ด

สภาพที่เหมาะสม


ดินร่วนซุย แสงแดดจัด

ถิ่นกำเนิด


อินเดีย

ดอกศรีตรัง
ดอกไม้ประจำจังหวัดตรัง

 

ดอกศรีตรังดอกไม้ประจำจังหวัด


ตรัง

ชื่อดอกไม้


ดอกศรีตรัง

ชื่อสามัญ

ชื่อวิทยาศาสตร์


Jacaranda filicifolia D. Don.

วงศ์


BIGNONIACEAE

ชื่ออื่น


แคฝอย (กรุงเทพฯ), ศรีตรัง (ตรัง)

ลักษณะทั่วไป


เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบสูง 5–10 เมตร เรือนยอดโปร่ง ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก ออกตรงกันข้าม ใบย่อยเล็ก ออกดอกเป็นช่อใหญ่ตามกิ่ง ดอกสีม่วง กลีบดอก 5 กลีบเชื่อมกันเป็นหลอด เมื่อบานเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 ซ.ม. ออกดอกช่วงเดือนมกราคม-มีนาคม ผลเป็นฝักแบน เมื่อแก่แตกเป็น 2 ซีก เมล็ดมีปีก

การขยายพันธุ์


การเพาะเมล็ด

สภาพที่เหมาะสม


ดินทุกชนิด เป็นไม้กลางแจ้ง ต้องการน้ำและความชื้นปานกลาง

ถิ่นกำเนิด


เป็นไม้ท้องถิ่นของอเมริกาใต้

No comments:

Post a Comment