Sunday, September 18, 2011

หลักการอ่าน คำบาลี

 

kampee1

หาก ใครเคยดูข่าวภาคค่ำทางช่อง ๗ สีทีวีเพื่อคุณ
ก่อนจบข่าวพิธีกรจะนำคำสอนพุทธศาสนสุภาษิต
ซึ่งเป็นภาษาบาลีมานำเสนอพร้อมคำแปล
ถึงจะเป็นคำเพียงสั้นๆ แต่ก็มีความหมายลึกซึ้ง
สามารถนำไปปรับใช้กับชีวิตประจำวันได้
ความจริงแล้ว การอ่านภาษาบาลีนั้น
หากพุทธศาสนิกชนตั้งใจหรือสนใจศรัทธาที่จะอ่านให้ได้จริงๆ นั้นง่ายนิดเดียว
ด้วยภาษาบาลีนั้นไม่มีอักษรเขียนเป็นการเฉพาะของตนเอง เหมือนภาษาอื่นๆ
เช่น ภาษาอังกฤษหรือภาษาไทยของเรา มีแต่เสียงสื่อความหมายเท่านั้น
เมื่อคนชาติใดนำไปจารึกบันทึกพุทธธรรม
ก็จะใช้อักษรของคนชาตินั้นเป็นตัวเขียน
เช่น ภาษาบาลีในพระไตรปิฎกของประเทศไทยเราก็ใช้อักษรไทยเป็นตัวเขียน
เรียกว่า บาลีอักษรไทย
ดังนั้น จึงเป็นการง่ายที่จะอ่านคำบาลีแท้ แม้ว่าจะไม่ได้เรียน
เพราะเราคุ้นเคยกับอักษรไทยกันดีอยู่แล้ว
การอ่านคำบาลีแท้นั้น มีหลักสำหรับการอ่านอยู่ ๒ ประการ คือ
๑. การอ่านพยัญชนะที่มี จุด (กฺ)
มีหลักว่า พยัญชนะตัวใดมีจุดกำกับอยู่ด้านใต้
พึงรู้ว่าพยัญชนะตัวนั้นทำหน้าที่เป็นตัวสะกด
โดยถ้าสะกดพยัญชนะที่ผสมด้วยสระอะ ซึ่งไม่ปรากฏรูป
เช่น คำว่า "อคฺโค สจฺจํ กมฺมํ" จุดใต้ ค, จ และ ม นั้น
มีค่าเท่ากับเครื่องหมายไม้หันอากาศ
และพยัญชนะที่มีจุดกำกับนั้นมีค่าเท่ากับตัวสะกด
จะอ่านออกเสียงว่า "อัคโค สัจจัง กัมมัง"
ถ้าพยัญชนะที่นอกจากสระอะ คือ อา อิ อี อุ อู เอ โอ ซึ่งปรากฏรูปอยู่
เช่นคำว่า "เวทนากฺขนฺโธ จิตฺตํ สุกฺกํ อุเปกฺขโก"
จุดนั้นไม่มีค่าอะไร เพียงแต่เป็นเครื่องกำหนดพยัญชนะให้ทำหน้าที่เป็นตัวสะกด
ก็จะอ่านออกเสียงไปตามรูปสระที่ปรากฏ
คือ "เวทนากขันโธ จิตตัง สุกกัง อุเปกขะโก"
๒. การอ่านพยัญชนะหรือสระที่มี นิคคหิต (กํ) อยู่บน
มีหลักว่า พยัญชนะ คือ อัง หรือนิคคหิตนี้ จะปรากฏอยู่บนสระอะ
เช่น คำว่า "เอวรูปํ จิตฺตํ กมฺมํ" ให้แทนค่าเป็นไม้หันอากาศ ตามด้วย "ง" สะกด
อยู่ร่วมกับพยัญชนะตัวใด ก็ออกเสียงไปตาม พยัญชนะตัวนั้น
เช่นในตัวอย่าง ก็จะอ่านว่า"เอวะรูปัง จิตตัง กัมมัง"
เมื่อปรากฏอยู่บนสระอิ เช่นคำว่า "ธมฺมจารึ อหํ สุคตึ"
ให้แทนค่าเป็นสระอิ ตามด้วย "ง" สะกด ก็จะอ่านว่า "ธัมมะจาริง อะหัง สุะคะติง"
และพึงตระหนักว่า ไม่ใช่สระอึ จึงไม่ควรอ่านออกเสียงเป็นสระอึ
ว่า "ธัมมะจารึ อะหัง สุคะตึ" เป็นอันขาด
นอกจากนี้ ยังมีหลักการอ่านพยัญชนะอวรรค
(พยัญชนะอิสระที่ไม่จัดเข้าวรรค) อีก คือ ย ร ล ว ส ห
ซึ่งพยัญชนะเหล่านี้ ท่านจัดเป็น อัฑฒสระ
คือ ออกเสียงได้เล็กน้อย ออกเสียงได้ครึ่งหนึ่ง
แต่ต้องอ่านให้เร็ว แม้จะเป็นตัวสะกด หรือใช้ร่วมกับพยัญชนะ วรรคอื่นๆ เช่น
คำว่า "ตสฺมา กตฺวา" จะอ่านว่า "ตัด สะ มา"
โดยพยัญชนะ "ส" เป็นได้ทั้งตัวสะกด
และยังออกเสียงว่า "สะ" ซึ่งต้องอ่านออกเสียงเร็ว
"กตฺวา" อ่านว่า "กัตตะวา"
คำว่า ตะ ออกเสียงเร็วหรือออกเพียงครึ่งเสียง ดังนี้ เป็นต้น

http://www.khaosod.co.th/view_news.php? ... B3Tnc9PQ==

No comments:

Post a Comment